วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

                 ขอสวัสดีแฟนคอลัมน์เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่านค่ะ ฉบับนี้มาพบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอ้วนกลมขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ เจ้าฮิปโปนั่นเอง เคยเชื่อกันว่าฮิปโปอยู่ในตระกูลเดียวกับหมู แต่ป...

Read more

                 ปัจจุบันพบฟอสซิลของอิกัวโนดอนต์ชนิดใหม่ของโลกในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาแล้ว อย่างน้อย 3 ชนิด  สองชนิดแรกได้รับการตั้งชื่อและตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ส่วนชนิดที่สามอยู่ระหว่างการตีพิมพ์เผ...

Read more

                 เมื่ออ่านจากชื่อแล้วคงจะเดาได้ไม่ยากว่าอิกัวโนดอนต์พันธุ์ไทยตัวแรกนั้นถูกค้นพบที่ใด (ลองเดากันดูสิคะ) ...ถูกต้องค่ะ!!... ไดโนเสาร์ตัวนี้พบที่จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ...

Read more

                  เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากฉบับนี้ อยากชวนท่านผู้อ่านไปฟังการถกเถียงทางวิชาการที่เข้มข้นและน่าสนใจประเด็นหนึ่งของวงการบรรพชีวินวิทยา  นั่นก็คือการตามหาบรรพบุรุษของมนุษย์เรานั่นเองค่ะ...

Read more

                 ฉบับที่แล้วกระผมทิ้งท้ายไว้ที่ความใหญ่โตมโหฬารของเจ้าวาฬสีน้ำเงิน กับไดโนเสาร์ตัวมหึมา คราวนี้ขอย้อนกลับมาที่ปัจจุบันกาลอีกครั้งหนึ่ง เราทราบแล้วว่าสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุด ณ บัดนาว ค...

Read more

               เป็นเรื่องแปลกแต่จริงสุดสำหรับมนุษย์สุดฉงนอย่างเราๆ ที่มักตื่นเต้นและชื่นชอบอะไรที่แปลกใหม่ ใหญ่ๆ เล็กๆ โดยเฉพาะไอ้เรื่องที่ได้รับการจดบันทึกเป็นสถิติโลกล่ะชอบนัก และเมื่อพูดถึงสถิติก...

Read more

                ณ บ้านท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อกว่า 16 ล้านปีก่อน เรื่อยมาจนถึงช่วงหนึ่งหมื่นปีก่อน เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสกุล พบว่า...

Read more

              เมื่อนักวิชาการบอกว่าลูกหลานที่เหลืออยู่ของไดโนเสาร์...คือ สัตว์กลุ่มนก ซึ่งหมายถึงกลุ่มสัตว์ปีก (Aves) รวมพวกเป็ด ไก่ ห่าน นกกระจอกเทศ และนกเพนกวินด้วย บางท่านอาจจะเชื่อครึ่งไม่เชื่อ...

Read more

                เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ ผมมีโอกาสได้ไปสัมผัสกับแหล่งโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในตำบลหลินถง เมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคด...

Read more

                 สวัสดีค่ะแฟนคอลัมน์ซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่าน ท่านผู้อ่านเคยสงสัยมั้ยคะ ว่าในยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลกนั้น สัตว์ที่อยู่ร่วมยุคกับมันเป็นสัตว์กลุ่มไหนกันบ้าง ...จระเข้ เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ แ...

Read more

                 ผมพยายามค้นหาคำภาษาไทยที่เป็นความหมายของคำว่า “missing link” จากหลายแหล่งแต่ก็ไม่โปรด ด้วยพยายามจะค้นหาคำที่ไม่เป็นวิชาการนัก แถมยังจะเป็นคำที่ดึงดูดโน้มน้าวให้หนุ่มสาวหันมาอ่านบทค...

Read more

                 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฮัมโบท์ล แห่งเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีค่ะ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่พิพิธภัณฑ์ปิดส่วนจัดแสดงบางส่วนเพื่อซ่อมแซม...

Read more

ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ

 

               เมื่ออ่านจากชื่อแล้วคงจะเดาได้ไม่ยากว่าอิกัวโนดอนต์พันธุ์ไทยตัวแรกนั้นถูกค้นพบที่ใด (ลองเดากันดูสิคะ) ...ถูกต้องค่ะ!!... ไดโนเสาร์ตัวนี้พบที่จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า อิกัวโนดอนต์โคราช    ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์คือ  ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ (ชื่อตัวแรกเป็นชื่อสกุล ส่วนชื่อที่สองเป็นชื่อชนิด) แปลว่า กิ้งก่าแห่งเมืองนครราชสีมา  โดยชื่อชนิดถูกตั้งขึ้นเพื่อถวายเป็นเกียรติแด่ ท่านท้าวสุรนารี หรือ คุณย่าโม นั่นเอง  ส่วนคำว่า อิกัวโนดอนต์ หมายถึง กลุ่มไดโนเสาร์สกุลอิกัวโนดอนและสกุลอื่นๆ ที่คล้ายสกุลอิกัวโนดอน เช่น อูราโนซอรัส, โปรแบคโตรซอรัส, ราชสีมาซอรัส ฯลฯ

               ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าอิกัวโนดอนต์กันก่อนนะคะ ว่าเขาถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด และในโลกนี้พบได้ที่ไหนบ้าง  ซากอิกัวโนดอนต์ถูกค้นพบโดยบังเอิญในปี ค.ศ. 1822 เมื่อนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ชื่อ กีเดียน แมนเทล (Gideon Mantell) เดินไปสะดุดเข้ากับซากฟันสัตว์เลื้อยคลานกินพืช ขณะเดินเล่นริมชายหาด ณ เมืองซัซเซก (Sussex) เดิมทีเข้าใจผิดคิดว่าเป็นฟันของจระเข้ยักษ์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1825 กีเดียน แมนเทล ก็ได้ตั้งชื่อให้ว่า อิกัวโนดอน (Iguanodon) ที่แปลว่า มีฟันคล้ายอิกัวน่า

               อิกัวโนดอน ถือเป็นไดโนเสาร์ 1 ใน 3 สกุลแรกที่ถูกตั้งชื่อและจัดแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกร่วมกับ Megalosaurus  และ Hylaeosaurus หรือกล่าวได้ว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืชชนิดแรกที่ถูกตั้งชื่อขึ้น และมีการฉลองความสำเร็จแห่งการค้นพบ  โดยจัดงานเลี้ยงภายในหุ่นจำลองอิกัวโนดอนต์ตัวแรกของโลก   ปัจจุบันซากฟันอิกัวโนดอนนี้ได้จัดแสดงอยู่ ณ พระราชวัง Crystal Palace ประเทศอังกฤษ

 


ภาพจาก http://illustratorpod.co.uk/?portfolio=iguanodon-dinner-2

                อิกัวโนดอนต์ เป็นไดโนเสาร์กลุ่มออนิโธพอด หรือเป็นไดโนเสาร์ที่มีสะโพกแบบนก กินพืชพวกเฟิร์นและหญ้าหางม้าเป็นอาหาร ขาหน้าสั้นกว่าขาหลัง มักเดินสองเท้าหรือเดินสี่เท้าเป็นครั้งคราว  นิ้วมือและเท้ามี 5 นิ้ว สามารถงุ้มงอนิ้วเพื่อจับกิ่งไม้ได้ และมีนิ้วโป้งขนาดใหญ่ที่สันนิษฐานว่าอาจจะมีไว้เพื่อเป็นอาวุธป้องกันตัว มีปลายปากคล้ายเป็ด และคาดว่าน่าจะมีลิ้นยาวตวัดอาหารเข้าปาก มีน้ำหนักอยู่ราว 3.5 ตัน และมีความยาวลำตัวจากหัวถึงปลายหางราว 10 เมตร ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงยุคจูแรสซิกตอนกลางถึงยุคครีเทเชียสตอนปลาย ในบริเวณป่า (woodland) ของทวีปแอฟริกา อเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย

               สำหรับอิกัวโนดอนต์โคราชหรือ ราชสีมาซอรัส จัดอยู่ในกลุ่มอิกัวโนดอนต์ ที่มีรูปร่างขากรรไกรคล้ายกับ Iguanodon bernissartensis ซึ่งพบที่เบลเยียม และ Ouranosaurus nigeriensis ซึ่งพบที่ไนเจอร์ โดยมีขากรรไกรเป็นแนวตรง ร่องฟันโค้งตามรูปฟัน และโคนขากรรไกรชี้ไปด้านหลัง ลักษณะที่โดดเด่นก็คือ ขากรรไกรเรียวยาวมีความยาวมากกว่าความสูงถึง 6 เท่า ซึ่งในสายพันธุ์อื่นๆ อยู่ที่ 3-5 เท่า   ดังนั้น ราชสีมาซอรัส  จึงเป็นอิกัวโนดอนต์สายพันธุ์ใหม่ของโลกและเป็นสายพันธุ์แรกของเมืองไทย

 

แหล่งข้อมูล :
1.  Shibata, M., Jintasakul, P., and Yoichi, A., 2011.  A new iguanodontian dinosaur from 

            the Lower Cretaceous Khok Kruat Formation, Nakhon Ratchasima in 
            Northeastern Thailand. Acta Geologica Sinica, 85 (5): 969-976. 
2.  http://www.britannica.com/EBchecked/topic/282449/Iguanodon     
3.  http://en.wikipedia.org/wiki/Iguanodon

 

จากจดหมายข่าว Khorat Fossil  Museum News  ปีที่ 2 ฉบับที่ 1  ประจำเดือนมกราคม 2556