วันอังคาร, 23 เมษายน 2567

                 ขอสวัสดีแฟนคอลัมน์เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่านค่ะ ฉบับนี้มาพบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอ้วนกลมขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ เจ้าฮิปโปนั่นเอง เคยเชื่อกันว่าฮิปโปอยู่ในตระกูลเดียวกับหมู แต่ป...

Read more

                 ปัจจุบันพบฟอสซิลของอิกัวโนดอนต์ชนิดใหม่ของโลกในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาแล้ว อย่างน้อย 3 ชนิด  สองชนิดแรกได้รับการตั้งชื่อและตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ส่วนชนิดที่สามอยู่ระหว่างการตีพิมพ์เผ...

Read more

                 เมื่ออ่านจากชื่อแล้วคงจะเดาได้ไม่ยากว่าอิกัวโนดอนต์พันธุ์ไทยตัวแรกนั้นถูกค้นพบที่ใด (ลองเดากันดูสิคะ) ...ถูกต้องค่ะ!!... ไดโนเสาร์ตัวนี้พบที่จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ...

Read more

                  เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากฉบับนี้ อยากชวนท่านผู้อ่านไปฟังการถกเถียงทางวิชาการที่เข้มข้นและน่าสนใจประเด็นหนึ่งของวงการบรรพชีวินวิทยา  นั่นก็คือการตามหาบรรพบุรุษของมนุษย์เรานั่นเองค่ะ...

Read more

                 ฉบับที่แล้วกระผมทิ้งท้ายไว้ที่ความใหญ่โตมโหฬารของเจ้าวาฬสีน้ำเงิน กับไดโนเสาร์ตัวมหึมา คราวนี้ขอย้อนกลับมาที่ปัจจุบันกาลอีกครั้งหนึ่ง เราทราบแล้วว่าสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุด ณ บัดนาว ค...

Read more

               เป็นเรื่องแปลกแต่จริงสุดสำหรับมนุษย์สุดฉงนอย่างเราๆ ที่มักตื่นเต้นและชื่นชอบอะไรที่แปลกใหม่ ใหญ่ๆ เล็กๆ โดยเฉพาะไอ้เรื่องที่ได้รับการจดบันทึกเป็นสถิติโลกล่ะชอบนัก และเมื่อพูดถึงสถิติก...

Read more

                ณ บ้านท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อกว่า 16 ล้านปีก่อน เรื่อยมาจนถึงช่วงหนึ่งหมื่นปีก่อน เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสกุล พบว่า...

Read more

              เมื่อนักวิชาการบอกว่าลูกหลานที่เหลืออยู่ของไดโนเสาร์...คือ สัตว์กลุ่มนก ซึ่งหมายถึงกลุ่มสัตว์ปีก (Aves) รวมพวกเป็ด ไก่ ห่าน นกกระจอกเทศ และนกเพนกวินด้วย บางท่านอาจจะเชื่อครึ่งไม่เชื่อ...

Read more

                เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ ผมมีโอกาสได้ไปสัมผัสกับแหล่งโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในตำบลหลินถง เมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคด...

Read more

                 สวัสดีค่ะแฟนคอลัมน์ซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่าน ท่านผู้อ่านเคยสงสัยมั้ยคะ ว่าในยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลกนั้น สัตว์ที่อยู่ร่วมยุคกับมันเป็นสัตว์กลุ่มไหนกันบ้าง ...จระเข้ เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ แ...

Read more

                 ผมพยายามค้นหาคำภาษาไทยที่เป็นความหมายของคำว่า “missing link” จากหลายแหล่งแต่ก็ไม่โปรด ด้วยพยายามจะค้นหาคำที่ไม่เป็นวิชาการนัก แถมยังจะเป็นคำที่ดึงดูดโน้มน้าวให้หนุ่มสาวหันมาอ่านบทค...

Read more

                 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฮัมโบท์ล แห่งเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีค่ะ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่พิพิธภัณฑ์ปิดส่วนจัดแสดงบางส่วนเพื่อซ่อมแซม...

Read more

ฮิปโปโคราช

 

               ขอสวัสดีแฟนคอลัมน์เรื่องของซากที่ไม่ซ้ำซากทุกท่านค่ะ ฉบับนี้มาพบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวอ้วนกลมขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ เจ้าฮิปโปนั่นเอง เคยเชื่อกันว่าฮิปโปอยู่ในตระกูลเดียวกับหมู แต่ปัจจุบันนี้พบว่าญาติสนิทที่สุดของมันคือปลาวาฬ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบกที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 รองจากช้างและแรด ในปัจจุบันพบฮิปโปอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในทวีปแอฟริกาและเหลืออยู่เพียง 2สายพันธุ์ ได้แก่ ฮิปโปยักษ์ (Hippopotamus amphibius) มักอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ตามแม่น้ำกว้างสายใหญ่ที่มีน้ำใสสะอาด และสายพันธุ์ที่ 2 คือ ฮิปโปแคระ  (Choeropsis liberiensis)   ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าทึบทางตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา จึงยากต่อการพบเห็นและไม่รู้จักนิสัยใจคอของเจ้าฮิปโปแคระนี้มากนักเมื่อเทียบกับเจ้าฮิปโปยักษ์

 

 ที่มาภาพ : http://centerforinternationalsportbusiness.blogspot.com/2010/06/south-africas-big-five.html

 

               แม้ว่าฮิปโปจะไม่ได้จัดรวมไว้ในกลุ่มสัตว์ห้ายักษ์ใหญ่แห่งป่าแอฟริกา  หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ  บิ๊กไฟว์  (Big Five)ที่ประกอบด้วย ช้าง เสือดาว สิงโต ควายป่า และแรด แต่ก็ได้รวมไว้ใน “สัตว์ยักษ์อันตรายทั้งเจ็ด” หรือ แดนเจอรัสเซเว่น(Dangerous 7) ที่รวมเอาจระเข้และฮิปโปเข้าไว้ด้วยกัน

 

                ในเมืองไทยมีบันทึก การพบซากโครงกระดูกฮิปโปจากแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตจังหวัดนครสวรรค์  ทำให้ทราบว่า ในอดีตเมืองไทยเรามี ฮิปโปอาศัยอยู่ และได้สูญพันธุ์ไปไม่นานนัก  และแทบไม่น่าเชื่อว่าฮิปโปเคยอยู่ในเมืองไทยมาแล้วเมื่อกว่า 10 ล้านปีก่อน จากการพบฟอสซิลกรามล่างเกือบสมบูรณ์ของฮิปโป จากบ่อทรายในตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าเป็นพวก ฮิปโปดึกดำบรรพ์ สกุล เฮกซะโปรโตดอน (Hexaprotodon) มีลักษณะเด่นที่กรามมีฟันตัดจำนวนรวมข้างซ้ายและขวาทั้งหมด 6 ซี่ ส่วนฮิปโปปัจจุบันมีจำนวนรวม 4 ซี่ ก่อนหน้านี้มีการค้นพบฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ อาทิเช่น ช้างมาสโตดอน เสือดาว แรด ควายป่า ฯลฯ จากแหล่งบ่อทรายท่าช้าง เมื่อเทียบกับยักษ์ใหญ่แห่งป่าแอฟริกาแล้ว โคราชในอดีตก็เป็นดินแดนบิ๊กไฟว์เช่นกัน ขาดก็แต่เพียงเจ้าสิงโต ซึ่งอาจจะรอคอยการค้นพบในเร็ววัน และเชื่อว่าเราก็น่าจะมี Dangerous 7 ของเมืองไทยเช่นกัน ด้วยการค้นพบฟอสซิลฮิปโปชิ้นนี้ ทำให้ทราบว่า ในอดีตป่าบริเวณตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมานั้น มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่า และยังมีทุ่งหญ้าขึ้นปกคลุมอีกทั้งยังมีแม่น้ำที่คาดว่าเป็นแม่น้ำมูนในอดีตที่ลำน้ำกว้างใหญ่ ใสสะอาด ให้เจ้าฮิปโปและผองเพื่อนได้อาศัยอยู่มาอย่างยาวนาน

 

 

 

 

 

จากจดหมายข่าว Khorat Fossil  Museum News  ปีที่ 2 ฉบับที่  5 ประจำเดือนพฤษภาคม 2556